สารบัญ ลายสัก รอยสัก

บางทีรอยสักบนร่างกายก็ไม่ได้หมายความว่ามันคือ แฟชั่น

รวมไอเดีย 40 รอยสักสุดน่ารัก ที่สาวหวานเห็นแล้วต้องกรี๊ด !

อีกหนึ่งแขนงของศิลปะที่ในปัจจุบันนั้นถือได้ว่ามีความนิยม และ ได้รับการยอมรับกันเป็นวงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ก็คงจะหนีไม่พ้นศิลปะที่เป็นการทำลวดลายต่าง ๆ ลงบนร่างกาย หรือ ผิวหนังของมนุษย์ อย่างรอยสักอย่างแน่นอน แต่ก็ใช่ว่าทุก ๆ รอยสักที่ถูกจารึกไปบนร่างกายของคนเราจะมาพร้อมกับคำว่าแฟชั่นทั้งหมด เพราะว่ามันยังมีอีกบางมุมที่รอยสักบนร่างกายนั้นไม่ใช่เพียงแต่คำว่าแฟชั่น แต่มันยังเปรียบเสมือนกับการกลบทำบาดแผล รวมถึง ความทรงจำต่าง ๆ อีกด้วย และเพราะเหตุผลนี้นี่เองที่ทำให้ตัวจองช่างภาพอย่าง ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ อาศัยช่วงจังหวะที่โควิดกำลังระบาดอยู่ในขณะนั้นถ่ายทอดเรื่องราวนี้ออกมา

โดยตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ นั้นเป็นอาจารย์พิเศษสาขาวิชาการถ่ายภาพ

ของสถาบันอย่าง เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ซึ่งในอดีตตัวของเขานั้นคือคนที่เริ่มโปรเจค ที่มีชื่อว่า หัวใตต้นไม้ โดยการไปถ่ายภาพต้นไม้ใหญ่ ๆ ทั่วประเทศไทย และหลังจากนั้นเขาก็เริ่มโปรเจคเกี่ยวกับรอยสักต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การสักขาลาย ของชาวล้านา และ ชาวอีสาน จนมาถึงโปรเจ็คล่าสุดอย่างการชวนคนที่มีรอยสักมาถ่ายภาพ โดยคนที่มาถ่ายภาพกับเขาในครั้งนั้นก็มีทั้งกลุ่มคนที่มีรอยสักแบบญีปุ่น , การสักยันต์ รวมถึงกลุ่มผู้หญิงที่หลงใหลในการสัก ซึ่งถ้ารวมเป็นจำนวนนั้นผู้ที่ได้มาถ่ายภาพกับเขาก็มีจำนวนมากถึง 100 คนเลยทีเดียว และ หากไม่มีสถาการณ์โควิดที่ระบาดอยู่ในขณะนั้นบางทีคนที่มาอาจจะมีมากถึง 200 คนเลยก็เป็นไปได้

โดยตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ นั้นได้มองคุณค่าของภาพรอยสักเหล่านั้นจำแนกแยกออกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น รอยสักนี้ถูกสักมาจากในคุก หรือ รอยสักนี้เป็นแนวญี่ปุ่น , รอยสักนี้เป็นการสักแบบ Old School เป็นต้น แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ได้มีเพียงแค่ผิวหนังกับสีของน้ำหมึกเท่านั้น แต่ในทุก ๆ รอยสักนั่นยังมีเรื่องราวอยู่ในนั้น แม้ว่าสไตล์ภาพที่เขาถ่ายจะเลือกเป็นภาพขาวดำ แต่ถึงแบบนั้นมันก็ยังสามารถที่จะสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกของรอยสักนั้น ๆ ออกมาได้อย่างครบถ้วน

นอกจากนั้นแล้วตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ยังได้กล่าถึงกลุ่มของผู้หญิง

ที่ตอนนี้เริ่มทำการสักบนเรือนร่างจนกลายเป็นที่มาของกระแสแฟชั่นในปัจจุบันเอาไว้ว่า ปกติแล้วผู้ชายที่จะเลือกสักนั้นจะมีค่อนข้างที่จะหลายเหตุผล แต่สำหรับผู้หญิงมันจะมีอยู่ 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน โดยปัจจัยแรกนั่นก็คือ การอยากจะมีรอยสักตามแฟชั่นของยุคสมัยนั่น ๆ ส่วนอย่างที่ 2 นั่นก็คือการมีรอยสักเพื่อที่จะใช้ปกปิดรอยแผลเช่นบริเวณที่เคยผ่าตัด และอย่างที่ 3 ก็คือ การมีรอยสักเพื่อความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าย้อนไปในอดีตเราแทบจะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะไม่ค่อยนิยมสักยันต์กันสักเท่าไหร่ แต่หลังจากที่มีข่าวว่าอาจารย์หนูได้สักยันต์ให้กับ แองเจลีนา โจลี เราก็จะเริ่มเห็นว่ามีผู้หญิงที่สักยันต์ 5 แถวมากขึ้น แถมการสักยันต์พวกนี้ยังไม่ได้เพียงแต่ต้องการคุณค่าของพุทธคุณเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการสักเพื่อแฟชั่นอีกด้วย จนทำให้ในปัจจุบันนี้ เราเริ่มเห็นผู้หญิงที่สักยันต์มากกว่า 5 แบบ 5 แถวมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วนั่นเอง

แต่ถึงแม้ว่าในการสักปัจจุบันเรื่องของแฟชั่นจะเข้ามาข้องเกี่ยวกับรอยสักมากขึ้นแต่ตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ก็ยังมองว่าจริง ๆ แล้วการสักนั้นมันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของแฟชั่นยังเดียว แต่รอยสักเหล่านี้ยังสามารถช่วยเยียวยาเรื่องของจิตใจได้อีกด้วย ซึ่งตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ได้เล่าว่า เขาคนนั้นเคยเจอน้องคนหนึ่งที่ภายนอกก็ดูเหมือนคนปกติทั่วไปนี่แหละ แต่ทว่าพอเขาคนนั้นถกแขนเสื้อขึ้น ตัวของเขาก็พบว่าที่แขนของน้องคนนั้นมีรอยกรีดที่เยอะมาก ๆ จนสุดท้ายแล้วก็มีคนแนะนำให้น้องคนนั้นไปสัก ด้วยเหตุผลที่ว่าการไปสักนั้นทำให้รู้สึกเจ็บก็จริง แต่มันก็จะได้ลวดลายสวย ๆ กลับมาแทน และนั่นเองก็ทำให้น้องคนนั้นไม่กรีดข้อมือตัวเองอีกเลย

โดยตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ได้เลือกที่จะสักเป็นโลโก้ของคณะมันฑนศิลป์

หรือ บางคนก็เลือกที่จะสักเป็นคำสอนของคุณพ่อ คุณ แม่ และสิ่งเหล่านี้นี่เองที่มันได้ทำให้ตัวของเขามองว่า การสักแบบนี้มันเลยไปไกลกว่าคำว่าแฟชั่น เพราะว่าเด็ก ๆ  ส่วนใหญ่จะเริ่มสักกันที่อายุประมาณ 20 กลาง และอันดับแรก ๆ เลยที่พวกเขาจะเลือกมีรอยสักสักแห่งอยู่บนร่างของเขานั้น พวกเขาก็จำเลือกรอยสักที่มีความหมายต่อเขานั่นเอง ส่วนสำหรับผู้ที่มีรอยสักอยู่ในเรือนจำนั้น ส่วนใหญ่ก็จะสักเพื่อให้ได้รับการยอมรับของคนในนั้น

ซึ่งถ้านับโปรเจ็คแรกของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ แล้วลก็การเข้ามาสู่โปรเจ็คที่ 2 นี้มันถือได้ว่าค่อนข้างยากเนื่องจากสถานการณ์โควิดที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนั้น เพราะมันทำให้ตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ ไม่สามารถที่จะออกตระเวนไปถ่ายภาพยังสถานที่ต่าง ๆ ได้นั่นเอง จึงทำให้เขากะว่าโปรเจคนี้อาจจะต้องใช้เวลายาวนานกว่า 3 ปีเลยกว่าที่จะถ่ายภาพผู้หญิงร้อยคน ผู้ชายร้อยคนได้สำเร็จ เนื่องจากสถานการณ์โควิดนั้นทำให้เขาล่าช้าไป 7 – 8 เดือนเลยทีเดียว แต่ถึงแบบนั้นแล้วสิ่งที่ดีสำหรับตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ นั่นก็คือ ในตอนแรกคนที่เขาถ่ายอาจจมีรอยสักไม่เยอะเท่าไหร่ แต่ระหว่างช่วงเวลาที่ห่างหายกันไปนั้นพวกเขาอาจจะมีรอยสักเยอะขึ้น และ นั่นก็ทำให้เขาตัดสินที่จะถ่ายรูปคนพวกนี้ใหม่ในทุก ๆ 5 ปี

และตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ เองยังมองว่าการทำงานของเขาครั้งนี้มันได้อะไรมากกว่าภาพถ่าย เพราะว่าไม่มองแค่ว่ารอยสักที่อยู่บนร่างกายเหล่านั้นดี หรือ ไม่ดี แต่ทว่าเขามองว่ามันคือคุณค่า และมันคือการแต่งตัวที่หลากหลายสไตล์เพียงแต่ว่ามันถอดออกมาไม่ได้นั่นเอง และการถ่ายในแต่ละครั้งนั้นมันก็ทำให้ตัวของ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ เริ่มเข้าใจคนที่มีรอยสักบนร่างกายมากขึ้น

หนึ่งในหญิงสาวที่ชื่อว่า พัทธนันท์ ขาวปลอด วัย 41 ปี ได้พูดถึงเรื่องราวรอยสักของเธอผ่านการพูดคุยกับ ชาญพิชิต พงศ์ทองสำราญ เอาไว้ว่า เธอนั้นสักครั้งแรกเมื่อตอนอายุ 27 ปี โดยรอยสักรูปแรกที่เธอเลือกสักนั้นเป็นรูปฟินิกซ์อยู่บริเวณบ่าด้านหลัง 

ซึ่งก่อนที่เธอจะตัดสินใจสักนั้น เธอก็ได้ไปขอพ่อของเธอถึงเรื่องที่เธอจะสัก ซึ่งแม้ว่าพ่อของเธอจะดูอึกอักกับเรื่องที่เธอจะสักเนื่องจากส่วนใหญ่แล้วครอบครัวของเธอนั้นทำงานราชการเช่น ตำรวจ และ ครู แต่สุดท้ายแล้วพ่อของเธอก็ยินยอมให้เธอมีรอยสักแรกจนได้ นอกจากนั้นแล้วพ่อของเธอก็ยังบอกด้วยว่าผู้หญิงที่มีรอยสักเยอะ ก็สวยดี และไม่ได้ดูไม่ดีเหมือนที่หลาย ๆ คนคิด แต่ถึงแม้ว่าพ่อ กับ แม่ จะไฟเขียวให้เธอสักแล้ว แต่คนที่มองเธอไม่ค่อยดีนักก็คือเหล่าผู้สูงอายุนั่นเอง

แต่ถึงแบบนั้นเธอก็ไม่ได้สนใจ เพราะเธอมองว่ารอยสักนั้นเกิดจากความชอบ และ ความเหมาะสม ซึ่งในทุก ๆ รอยสักที่เธอจารึกเอาไว้บนร่างกายมันก็มีความหมาย และ ซ่อนความทรงจำต่าง ๆ เอาไว้นั่นเอง แถมในตอนนั้นเธอยังมีลูกแล้วถึง 3 คนด้วยกัน ซึ่งบรรดาลูก ๆ ของเธอเองก็ไม่ได้รังเกียจแม่ที่รอยสักเต็มตัวเลยแม้แต่น้อย

ส่วนหญิงสาวอย่าง ดิว -ธิภาพันธ์ เข็มเงิน ที่ตอนนั้นมีอายุ 15 ปี เธอก็ได้เผยถึงเรื่องราวของรอยสักของเธอว่า ตอนที่เธอสักครั้งแรกนั้นเป็นช่วงที่อยู่ ม.3 โดยรอยสักแรกที่เธอเลือกนั่นก้คือรูปพญานาคที่ข้างหลัง โดยการสักครั้งนี้มันเกิดมาจากที่ว่าคุณพ่อของเธอได้ไปสัก ซึ่งเมื่อเธอเห็นคุณพ่อของเธอสักแล้ว เธอก็อยากที่จะลองสักด้วย และทันทีที่โดนเข็มแรกเข้าไปเธอก็รู้สึกเจ็บปวดเป็นอย่างมาก แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องฝืนสักให้เสร็จ เพราะตอนนั้นคนอยู่เยอะ

ซึ่งในครอบครัวของเธอนั้นพ่อแม่ไม่เคยว่าอะไรเรื่องรอยสักเลย และท่านทั้ง 2 ก็ปล่อยให้มีอิสระอย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องดูแลรับผิดชอบการเรียนของตัวเองให้ดี เลยทำให้พี่น้องของเธอที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด 5 คน ทุกคนล้วนแล้วแต่สักทัก โดยรอยสักที่มีความหมายต่อเธอมากที่สุดนั่นก็คือ รอยสักแรกที่คุณพ่อของเธอพาไปนั่นเอง 

และนี่ก็คือเรื่องราวของรอยสักที่แม้ว่าในปัจจุบันมันจะกลายเป็นกระแสแฟชั่นไปมากแล้วก็ตาม แต่ทว่ามันก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่มองว่ามันคือเครื่องเยียวยาทางจิตใจอยู่นั่นเอง

ลายสัก HOT

บทความลายสักล่าสุด

หมวดหมู่ลายสัก

สารบัญ ลายสัก รอยสัก