สารบัญ ลายสัก รอยสัก

รอยสักประวัติศาสตร์ของชนเผาเมารีกับการประจักษ์สู่เวทีระดับโลก


Foreign Affairs Minister Nanaia Mahuta admits no 'direct' contact with NZ  ambassador in Russia

หากพูดถึงสิ่งที่เรียกว่ารอยสักแล้วละก็ เราเชื่อว่าในยุคสมัยใหม่นี้หลาย ๆ คนน่าจะพอที่จะเปิดเรื่องราวของคนมีรอยสัก และ มองรอยสักบนร่างกายมนุษย์นั้นเปลี่ยนไปมากกว่าแต่ก่อน แต่ถึงแบบไรก็ตามสิ่งที่เราเชื่อว่ามันค่อนข้างที่จะขัดเรื่องราวของรอยสักมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น เรื่องราวของรอยสัก กับ ราชาการในปัจจุบันนี้เอง เพราะอย่างที่เราน่าจะพอทราบกฏกันมาอยู่บ้างว่า สำหรับคนที่จะเข้ารับราชการได้นั้น คน ๆ จำเป็นที่จะต้องไม่มีรอยสักที่แสดงออกมาให้เห็นนั่นเอง แต่สำหรับสิ่งที่เราบอกนั้นมันเป็นเพียงแค่สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเท่านั้น เพราะในเวทีการเมืองโลกยังมี หญิงสาวคนหนึ่งที่มีรอยสักอันเด่นชัด และ เธอคนนี้นี่แหละ คือคนที่ทำดำรงอยู่ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของนิวซีแลนด์เลยทีเดียว โดยเธอคนนั้นก็คือ

นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta)

แต่ถ้าว่ากันตามตรงแล้วหลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยได้คุ้นชื่ออย่าง นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) กันสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าเธอคนนี้เพิ่งได้ถูกแต่งตั้งมาเป็นสมาชิกผู้แทนราษฏรหญิงของซีแลนด์ในตำแหน่งที่เรากล่าวเอาไว้ข้างต้นแบบหมาด ๆ ซึ่งทันทีที่ภาพของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ปรากฏสู่สายตาของสื่อ สำนักข่าวต่าง ๆ ทั่วโลกแทบทุกเจ้าก็ล้วนโฟกัสมาที่เธอ เพราะว่าเธอคนนี้นั้นถือได้ว่าเป็น ชนเผ่าพื้นเมืองอย่าง ชนเผ่าเมารี คนแรกในประวัติศาสจตร์ของประเทศนิวซีแลนด์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรี แถมตัวของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ก็ยังมาพร้อมกับรอยสักอันเป็นเอกลักษณ์ของเผ่าอย่าง รวมถึง โมโก (moko) หรือ Tāmoko ที่ปรากฏอยู่บนใบหน้าของเธออีกด้วย
Nanaia Mahuta Steps Up To The World Stage | Newsroom

ซึ่งแม้ว่ารอยสักของนิวซีแลนด์ รวมถึงชนเผ่าเมารีอย่าง โมโก จะเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ๆ ในสังคมนิวซีแลนด์มากขึ้นแล้วแล้วก็ตา แต่ถึงแบบนั้นการที่จะได้เห็นรอยสักเหล่านี้อยู่บนเวทีการเมืองระดับประเทศนั้นถือได้ว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างยากอยู่พอสมควร เพราะอย่างที่หลาย ๆ คนน่าจะรู้กันดีว่าเรื่องรอยสักนั้น มันเปรียบเสมือนกับเรื่องต้องหาบนเวทีการเมืองระดับโลกเลยนั่นเอง และแน่นอนว่าตัวของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ก็มีมันอยู่ให้เห็นกันแบบชัด ๆ เต็ม 2 ตา

ส่วนถ้าใครจะถามว่าเพราะอะไรเรื่องราวของรอยสักถึงได้ถูกแบนออกจาภาพลักษณ์ของการเมือง เพราะว่าส่วนใหญ่เรื่องราวของรอยสักมันมักจะไปเกี่ยวกับเรื่องราวของอาชญากร กลุ่มมิจฉาชีพ รวมไปถึงความรุนแรง และ ยาเสพติดนั้นเอง ดังนั้นรอยสักเหล่านี้จึงได้สร้างทัศนะคติไม่ดีเท่าไหร่นัก แต่ทันทีทีตัวของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ผู้มีรอบสักได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีการต่างประเทศ เธอก็ได้กลายเป็นเหมือนแสงแห่งความหวังที่จุดประกายให้บรรดาเหล่าลูกหลานของชนเผ่าเมารีอีกครั้ง เพราะว่าการที่ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ซึ่งมีรอยสัก โมโก แล้วได้มายืนอยู่ในเวทีการเมืองแบบนี้ มันแสดงได้ให้ถึงทำเนียมปฏิบัติรวมถึงศิลปะวัฒนธรรมของชาวเมารีที่แสนภาคภูมใจตั้งแต่โบราณออกมา 

Jacinda Ardern appoints Maori MP Nanaia Mahuta as foreign minister | World  | The Times

โดยตามวัฒนธรรมพื้นเมืองของชาวเมารีนั้น การสักโมโกนั้นมันจะเปรียบเสมือนกับตราประทับที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมันจะเป็นการบอกเล่าถึงเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับระหว่างคน ๆ หนึ่งกับบรรพบุรุษของเขา เช่นการลำดับเครื่องญาติ รวมถึงในสมัยก่อนมันยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงสังคมเช่นอาชีพอีกด้วย ซึ่งในกรณีของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) รอยสักของเธอนั้นจะเรียนกว่า รอยสัก โมโก คาอูว์ ซึ่งชื่อเป็นเป็นชื่อเรียกของรอสักที่สักอยู่บริเวณปาก และ คาง ซึ่งมันจะบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ว่าตัวของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) นั้นเป็นเครือญาติกับ พระนาง เท อไทแรงกีคาฮู ซึ่งเป็นราชินีของเผ่าเมารีผู้ล่วงลับ กับ คิงกี ตูเฮเทีย ซึ่งเป็นกษัตริย์ของชนเผ่าเมารีองค์ปัจจุบัน ซึ่งลวดลายที่อยู่บริเวณด้านซ้าย และ ขวา บนใบหน้าของเธอนั้นจะเป็นตั่วบ่งบอกถึงสายสัมพันธ์ของฝั่งพ่อ และ แม่ เธอตามลำดัล

อ่านมาถึงตอนนี้หลาย ๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยกันมาบ้างแล้วว่า แล้วรอยสักของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) กับชนเผ่าเมารีนั้นเริ่มต้นมาได้อย่างไร ซึ่งเราจะขออธิบายดังนี้ก็คือ จริง ๆ แล้วธรรมเนียมการสักโมโกของชนเผ่าเมารีนั้นมาได้อย่างไร 

โดยจริง ๆ แล้วธรรมเนียมการสักนี้มาจากชื่อของ โอว์โมโก ซึ่งเป็นชื่อของเทวีแห่งแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟตามความเชื่อของชนเผ่าเมารี แต่ทว่าก็ยังมีความเชื่อหนึ่งนั่นก็คือจริง ๆ แล้วมันมาจากความเชื่อของตำนานพื้นบ้านที่เล่าถึงเรื่องราวของ 

มาตาโอโร มนุษย์ที่ไปตกหลุมรัก และ แต่งงานกับ นิวาเรกา ซึ่งเป็นธิดาของผู้ปกครองยมโลก

จนกระทั่งวันหนั่ง มาตาโอโร ได้เกิดโมโห และทำร้ายร่างกายของภรรยาตัวเอง และหลังจากที่เขาหายโมโห เขาก็ยอมให้บิดาของ นิวาเรกา นั้นลงโทษโดยการไล่กลับขึ้นมายังโลกมนุษย์อีกครั้ง พร้อมกับสักรอยไว้บนร่างกายเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ตัวเขาหลีกเลี่ยงการทำชั่ว

Nanaia Mahuta hits refresh on New Zealand diplomacy | World News,The Indian  Express

ซึ่งการสักโมโกเหมือนกับ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) เองก็ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดี ๆ ก็จะสักกันได้ เพราะการสักนี้จะเป็นการสักเพื่อเฉลิมฉลอง จึงทำให้ขั้นตอนในการสักโมโกนั้นค่อนข้างที่จะมีระเบียบ และ ธรรมเนียมปฏิบัติหลายต่อหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จะสักจะต้องกินอาหารจากท่อ และ งดเว้นกิจกรรมทางเพศ รวมถึงห้ามโดนน้ำใด ๆ เลยก็ตามเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็มเพื่อที่จะป้องการการติดเชื้อ โดยส่วนใหญ่แล่วผู้ชายมักจะสักโมโกไว้ที่บริเวณใบหน้า สะโพก และ ต้นขา ส่วนผู้หญิงมักจะสักไว้ที่บริเวณริมฝีปาก และ คาง เหมือนกัน นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) นั่นเอง

ซึ่งถ้าให้พูดชนเผ่าอื่น ๆ ในแถบโพลินีเซียนั้นเองก็มีวัฒนธรรมการสักด้วยลวดลายที่ต่างกันและสืบทอดกันมาอย่างยาวหลายศตวรรษ แต่สิ่งที่ทำให้รอยสักแบบโมโกของชนเผ่าเมารีได้มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกับรอยสักอื่น ๆ นั่นก็คื เทคนิค และ เครื่องมือในการสัก โดยสีที่ใช้ในการสักนั้นจะได้การเผายางไม้จากต้นไม้ที่ชื่อว่าเคารี และ นำมาผสมกับเม่าและน้ำมันหรือสาเหลวอื่น ๆ ส่วนเข็มสักนั้นจะทำมากระดูของนกอัลบาทรอสที่ถูฝนจนแหลมคม ต่อจากนั้นก็ได้เริ่มมีการนำเข็ม แล เครื่องมือสักในสมับใหม่เข้ามาประยุกต์ในช่วงต้นศตวรรษ์ที่ 20 ซึ่งรอยสักของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ก็เป็นรอยสักที่เกิดขึ้นจากเครื่องสักสมัยใหม่แล้วเช่นกัน

NZ minister Nanaia Mahuta accused of conflict of interest over sister's job

แต่ถึงแบบนั้นแล้วเพราะกาลเวลานั้นมันก็ทำให้วัฒนธรรมการสักโมโกเริ่มค่อย ๆ จากหากไปหนำซ้ำการเข้ามาของยุคล่าอนานิคมของชาติตะวันตก ยังทำให้แนวคิดเรื่องการสักโมโกนั้นกลายเป็นเรื่องไม่ค่อยดีนัก และความคิดนี้ก็เผยแพร่เข้าสู้กลุ่มลูกหลานของชาวเมารี ก่อนที่สุดท้ายแล้วการสักโมโกจะได้กลับมาเป็นที่ยอมรับอีกครั้งในยุค 1990 และ 2000 และนั่นเองก็กลายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเริ่มฟื้นฟูวัฒนธรรม ศิลปะ รวมถึงวิถีชีวิตดั้งเดินของชาวเผ่าเมารีขึ้น โดยจุดประสงค์ของการฟื้นฟูในครั้งนี้นั่นก็คือ การประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของพวกเขาอีกครั้ง แต่ถึงจะมีเรื่องแบบนั้นเกิดขึ้นก็ตามแต่ในประเทศนิวซีแลนด์เองก็ยังมีอยู่หลาย ๆ ครั้งที่ชนเผ่าพื้นเมืองอย่างเมารีนั้นถูกปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมในหลาย ๆ ครั้งเนื่องจากรอยสักโมโกที่หน้าเหมือนกับตัวของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta)

และเพราะการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมนี้เองจึงทำให้ตัวการปรากฏตัวของ นาไนอา มาฮูตา (Nanaia Mahuta) ในฐานะของคนที่มีตำแหน่งทางการเมือง และ มีรอยสัก โมโกนี้ มันเลยกลายเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่สุด ที่คนส่วนใหญ่จะได้มีโอกาสศึกษาและเรียนรู้จากเธอ ซึ่งมันจะนำพาไปสู้การยอมรับในความเป็นชนเผ่าเมารี รวมถึงยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าต่อไปนี้จะไม่มีเส้นแบ่งกั้นใด ๆ แล้วระหว่างความแตกต่าง ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของประชาธิปไตยอีกด้วย

ลายสัก HOT

บทความลายสักล่าสุด

หมวดหมู่ลายสัก

สารบัญ ลายสัก รอยสัก