สารบัญ ลายสัก รอยสัก

ลายสักของ 3 ชนเผ่า ไทย และ ไต้หวัน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม


PAIWAN TATTOO REVIVAL IN TAIWAN | LARS KRUTAK

ในสังคมของยุคปัจจุบัน เรื่องราวของ รอยสัก หรือเรียกว่าเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า Tattoo นั้น ได้ถูกเปลี่ยนมุมมองจากอดีตไปมาก เพราะในปัจจุบันเรื่องราวของรอยสักได้เริ่มถูกพูดถึงไปในเชิงของสิ่งที่เป็นศิลปะ และ ความสวยงามในแบบเฉพาะตัวบุคคลกันมากขึ้นกว่าแต่ก่อนแล้ว แต่ทว่าถ้าจะให้มาพูดถึงเรื่องในอดีตของ รอยสัก นั้น นอกจากที่เรื่องราวของมันจะมีส่วนเข้าไปเกี่ยวกับอาชญาหรือการกระทำผิดต่าง ๆ แล้ว จริง ๆ แล้วสิ่งทีเรียกว่ารอยสักยังมีความเกี่ยวข้องกับบรรดาเหล่าวัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสังคมของหมู่บ้าน หรือ ชนเผ่า

เพราะในสมัยร่างกายของมนุษย์เองก็ไม่ต่างอะไรกับฝาพนังที่มีเอาไว้สำหรับในการบันทึกเรื่องราว เพื่อเป็นการวสืบทอดต่อวัฒนธรรม และ ประวัติศษาสตร์ของกลุ่มและชนเผ่านั้น ๆ และเพราะวิธีนั้นนี่เองที่ทำให้ในปัจจุบันเรื่องหลายของหลาย ๆ ชนผ่าในโลกกับยังคงสืบทอดกันมาผ่านทางรอยสักที่อยู่บนร่างกายเหมือนดั่งเช่นคนรุ่นก่อนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา 

ชมฟรี]ร้อยเรื่องราวของรอยสัก กับนิทรรศการ “สักสี สักศรี:  ก่อนรอยแห่งเกียรติจะลบเลือน” - แล้วแต่ตัว

ซึ่งรอยสักในบางครั้งที่เราได้เห็นของชนเผ่าโบราณต่าง ๆ

เรามักจะเห็นว่าพวกเขามักที่จะสักอยู่บริเวณแขน ขาด แถมลวดลายที่ถูกสักเหล่านั้น เราก็สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าลวดลายเหล่านั้นไม่ใช่การสักเพื่อความงดงามทางศิลปะ แต่ทว่าการที่จะเข้าใจรอยสักที่มีความเป็นมาและประวัติศาสตร์อันยาวนานแบบนี้บางทีก็ต้องอาศัยเวลา และ ประสบการณ์จากผู้บอกเล่าหลาย ๆ ถึงเรื่องราวของรอยสักนั้น

และเพราะประวัตศาสตร์ซึ่งค่อนข้างยาวนานนี่เองจึงทำให้ทางมิวเซียมสยาม ได้ร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวัน และสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ได้จักแสดงงานที่เป็นนิทรรศการขึ้นมา ซึ่งมันเป็นครั้แงรกของประเทศไทยเลยที่มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของรอยสัก โดยนิทรรศการในครั้งได้มีการเล่าถึงเรื่องราวของมรดกทางวัฒนธรรมผ่านศิลปะรอยสักบน่างกายของ 3 กลุ่ม ชาติพันธุ์ของ 2 ประเทศอย่าง ไทย และ ไต้หวัน นั่นก็คือชาว ไทหย่า , ชายไผวัน และ ชาวล้านนาของไทยนั้นเอง ซึ่งในนิทรรศการในครั้งนั้นได้มีการให้ความรู้ และ ความใจมากมายถึงความหลาหลาย และ ความเชื่อของวัฒนธรรมเกี่ยวกับรอยสักแต่กลุ่ม

ประเพณีการสักหมึกของชายล้านนา วัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน

มาเริ่มกันที่วัฒนธรรมรอยสักของชาวล้านากันก่อนเลย โดยการสักของชาวล้านนานั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนั่นก็คือ การสักช่วงบนตั้งแต่เอวไปถึงแขนและศีรษะ โดยการสักแบบนั้นจะเรียกกันว่า การสักแบบยาข่าม หรือแปลเป็นภาษาไทยได้ว่าการสักเพื่อนคุณสมับติของคงกระพัน นอกจากนั้นแล้วยังมีอีกหนึ่งแบบนั่นก็คือ การสักแบบปิยะ โดยมีคุณสมับตินั่นก็คือการสักเพื่อความเมตมหานิยมนั่นเอง ส่วนการสักอีกส่วนหนึ่งนั้นจะเป็นการสักตั้งแต่เอวลงไปถึงช่วงเท้า ซึ่งเราจะเรียกกันว่า การสักขาลาย และ การสักักข่ามเขี้ยวซึ่งจะมีคุณสมบัติทางความเชื่อนั่นก้คือการป้องกันสัตว์มีพิษนั่นเอง

โดยการสร้างสรรค์รอยสักเหล่านี้ของชาวล้านนาจะสักด้วยการนำหมึก

ที่ได้จากเขม่าไฟมาผสมกับดีสัตว์และยาสมุนไพร ซึ่งพวกเขาชื่อกันว่าเป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ และหลังจากนั้นก็ทำการสักเป็นตัวอักขระรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปยันต์ หรือ รูปสัตว์ โดยในระหว่างสักก็จะมีการสวดคาถากำกับไปด้วย 

สักขาลาย พุงขาว | ไอเดียรอยสัก, รอยสักแบบดั้งเดิม, รอยสัก

ส่วนการสักขาลายนั้นจะแตกต่างกับการสักยาข่าม และ ปิยะ เนื่องจากการสักขาลายนั้นจะเป็นการสร้างรอยสักรูปสัตว์ต่าง ๆ เอาไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมตั้งแต่เอวไปจนถึงขา และ จะไม่มีการเสกคาถาอะไรใด ๆ แค่การสักขาลายนั้นจะเป็นการสักเพื่อแสดงให้เห็นถึงความอดทน กล้าหาญ และ การเติบโตเป็นลูกผู้ชายของผู้ที่สัก เนื่องจากการสักขาลายนี้จะทำให้ผู้ที่สักสามารถฝึกความเคยชินต่อความเจ็บปวดได้ด้วยความสมัครใจ และ ยังเป็นการแสดงออกถึงขนบธรรมของผู้ชายของกลุ่มผู้ชายล้านนาอีกด้วย

ส่วนสัตว์ที่ถูกสักลองไปในการสักขาลายนั้นจะเป็นลวดลายของบรรดาเหล่าสัตว์หิมพานต์ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ และ ฮินดู อาทิเช่น นกกระจาบ นกแร้ง สิงโต ราชสีห์ นกกาบบัว เสือ ช้าง และหนุมาน อื่น ๆ เป็นต้น แต่ก็ใช่ว่าลายอื่น ๆ จะไม่มีเลย เพราะว่ารอยสักลวดลายอื่น ๆ เองก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็น ลายดอกไม้ หรือรูปนกยูง เป็นต้น

นอกจากนั้นแล้วการสักขาลาย ยังถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งการสักที่เป็นการสักที่มีจารีตประเพณ และ ขนบธรรมเนียมเฉาพาะกลุ่ม แต่ถึงแม้ว่าการสักขาลายจะไม่มีการปลุกเสกคาถา หรือ พิธีกรรมใด ๆ ก็ตามที แต่ก่อนที่สักขาลายได้นั้น จะต้องการตั้งขันครู เสียก่อน โดยการตั้งขันครูนั้นจะประกอบไปด้วย หมาก ใบพลู ยาสูบ และเงินค่าขันครู ซึ่งเงินค่าขันครูนั้นจะขึ้นอยู่กับความละเอียด และ ความซับซ้อนของลวดลาย และเมื่อหลังจากที่สักขาลายเสร็จสิ้นแล้ว ครูอาจารบ์ที่เป็นผู้สักให้ จะต้องให้ผู้สักกินข้าว พริก เกลือ และ น้ำ รวมถึงยัมีการผูกด้านขาวที่ข้อมือถึงจะเป็นการจบพิธีการสร้างสรรค์รอยสักแบบนี้
Atayal facial tattoos | Facial tattoos, Tattoo styles, Traditional tattoo

ส่วนอีกหนึ่งเรื่องราวของรอยสักที่ถูกจัดแสดงภายในงานนั่นก็คือวัฒนธรรมการสักหน้าของชาวไท่หย่า กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไต้หวัน ซึ่งกลุ่มไท่หย่านั้นจะมีขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับการสักลายบริเวณหน้าของสตรี และ บุรุษ 

ซึ่งความหมายของทั้งบุรษและสตรีก็จะแตกต่างกันไป โดยทางฝั่งของบุรุษนั้นการสักนั้นจะหมายถึง การที่ชายคนนั้นเป็นชายชาตินักรบ มีความแข็งแกร่ง และ กล้าหาญ ส่วนถ้าสตรีเป็นผู้สักนัน้ มันจะหมายถึงว่า สตรีคนนั้นมีความสามารถในการถักทอ และ ยังได้รับการยอมรับจากทุกคนในสังคมอีกด้วย

โดยในช่วงศตวรรษที่ 20 นั้นรอยสักของชาวไท่หย่านั้นได้ถูกทางญี่ปุ่นที่มีบทบาทในการปกครองในช่วงนั้นได้มองว่ามันเรื่องที่ค่อนข้างไร้อารยธรรม จนทำหลาย ๆ คนที่มีรอยสักเหล่านี้อยู่บนใบนั้นจำเป็นที่จะต้องไปผ่าตัดเพื่อลบรอยสักออก เนื่องจากการจับลำดับทางสังคมของประเทศญี่ปุ่น แต่ถึงแบบนั้นแล้วก็มีอีกหลาย ๆ คนที่ยังลักลอบสักแบบนี้ต่อ

 นอกจากยนั้นแล้วชายไท่หย่ายังมีความเชื่อว่าผู้ที่ได้มีรอยสักบนใบหน้าเท่านั้นที่จะสามารถก้าวข้ามสะพานแห่งสายรุ้งหลังจากที่เสียชีวิตไปได้ ซึ่งเจ้าสะพานสายรุ้งที่ว่านี้จะเป็นเสมือนกับการก้าวเข้าสู่โลกแห่งวิญญาณ นอกจากนั้นการจะได้รอยสักนี้มาก็ไม่ใช่ง่าย ๆ เพราะว่าบุรุษที่หวังจะมีรอยสักนี้จะต้องแสดงความกล้าหาญของตัวเองในฐานะนักล่า ด้วยการออกไปล่าสัตว์ใหญ่ รวมถึงการพิสูจน์ความเป็นนักรบด้วยการนำเอาศีรษะของข้าศึกกลับมา ส่วนผู้หญิงที่อยากได้รอยสักนี้จะต้องพิสูจน์ความขยัน และ ความสามารถในการทอผ้า และ ปลูกพืช และเมื่อไหร่ก็ตามที่พวกเขาสามารถมีรอยสักนี้อยู่บนใบหน้าได้สำเร็จพวกเขาก็จะได้รับการยอมรับว่าเป็นชาว ไท่หย่าที่แท้จริง
Paiwan indigenous hand tattoos star at NTM exhibition - Taiwan Today

อีกหนึ่งรอยสักที่ถูกจัดแสดงในครั้งนั้นก็คือ วัฒนธรรมการสักมือ และ ร่างกายของชาวไผวัน โดยชาวไผวันนั้นอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของไต้หวัน ซึ่งส่วนใหญ่บรุษของชาวไผวันจะมีรอยสักอยู่บริเวณส่วนบนไม่ว่าจะเป็นบริเวณหน้าอก หลัง และ แขน ส่วนสตรีชาวไผวันนั้นจะมีการสักอยู่ที่บริเวณหลังมือ โดยรอยสักของไผวันนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญเอามาก ๆ เพราะว่าการสักของพวกเขานั้นมีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนเกียรติยศ ศักดินา และสถานะทางสังคม ซึ่งมาซึ่งความรับผิดชอบนั่นเอง

โดยรอยสักเหล่านี้จะถูกทำออกมาอย่างพิถีพิถึนราวกับว่ามันเป็นลวดลายบนเสื้อผ้า หรือ งานแกะสลักชิ้นสำคัญเลยทีเดียว ซึ่งผู้ที่จะมีรอยสักนี้ได้จะต้องมีความสำคัญ โดยจะต้องเป็นหัวหน้าเผ่า และรวมไปถึงสมาชิกของครอบครัวหัวหน้าเผ่าเท่านั้น ส่วนใหญ่ที่ผ่าฝืนกฏนี้แล้วแอบสัก จะต้องถูกลงโทษ และ ถูกกีดกันออกจากคนในเผ่านั่นเอง

และนี่ก็เรื่องของรอยสักของ 3 ชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างกัน แต่ทว่าทั้งหมดนั้นแสดงออกถึงวัฒนธรรมและจารีตประเพณอันงดงามจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่เสื่อมคลาย

ลายสัก HOT

บทความลายสักล่าสุด

หมวดหมู่ลายสัก

สารบัญ ลายสัก รอยสัก