สารบัญ ลายสัก รอยสัก

ศราวุธ แววงาม กับการสักขาลายล้านนาที่แทบสายสาบสูญ Part 2


ในปัจจุบันนั้นเรื่องราวของรอยสักนั้นกลายเป็นที่ยอมรับมากขึ้นเนื่องจากว่ามันถูกยอมรับในฐานะสิ่งที่เรียกว่าแฟชั้นมากขึ้น แต่จริง ๆ เรื่องราวของรอยสักในอดีตนั้นมันมีมากกว่าเพียงแค่แฟชั่น เพราะว่ารอยสักในสมัยก่อนนอกจากที่มันจะถูกนำมาใช้เพื่อตีตราบรรดาเหล่านักโทษแล้ว รอยสักยังเปรียบเสมือนกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของชนเผ่าต่าง ๆ อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของชาวล้านนาอย่างการสักขาลายนั่นเอง แต่เพราะมันเป็นรอยสักที่สักเพื่อความเชื่อต่าง ๆ นั้นเองมันจึงทำให้วัฒนธรรมการสักเหล่านั้นค่อย ๆ จางหายไปตามกาลเวลา แต่สำหรับเรื่องราวของการสักขาลายนั้น มันยังไม่ได้จากหางไปไหนไกล เพราะยังมีช่างสักอย่าง ศราวุธ แววงาม ที่หลงในรูปแบบการสักแบบนี้อยู่จนทำให้เขาได้ออกเดินทางเพื่อที่จะไปหาที่มาที่ไปของการสักขาลายนั่นเอง 

ซึ่งในบทความก่อนหน้านั้นเราได้พูดถึงเรื่องราวของการเจอกับระหว่าง ศราวุธ แววงาม กับรอยสักขาลายกันไปแล้ว ซึ่งถ้าใครยังไม่ได้อ่าน คุณสามารถย้อนกลับไปอ่านเรื่องราวเหล่านั้นเพื่อทำความเข้าใจให้มากกว่าเดิมก่อน ส่วนสำหรับใครที่กำลังรออ่านเรื่องของ ศราวุธ แววงาม กับการสักขาลายต่อแล้วละ เอาเป็นว่าเรามาเริ่มฟังเรื่องราวของเขากันต่อเลยดีกว่า

การสักขาลาย วัฒนธรรมเจ็บๆ บทพิสูจน์ความอดทน และอัตลักษณ์ของชาวล้านนา | THE  MOMENTUM การสักขาลาย วัฒนธรรมเจ็บๆ บทพิสูจน์ความอดทน  และอัตลักษณ์ของชาวล้านนา

ซึ่งหลังจากที่ตัวของ ศราวุธ แววงาม ออกเดินทางจนในที่สุดเขาก็ได้เจอชาวบ้านชี้ทาง

ไปยังบ้านของอาจารย์ที่เชี่ยวชาญการสักแล้ว เขาก็ได้พบชายที่มีชื่อว่า ละดา ศรีอุเบท ซึ่งเป็นชาวปกาเกอะญอ และเขายังเป็นช่างสักขาลายที่ยังคงรับงานสักอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และหลังจากนั้นตัวของ ศราวุธ แววงาม เองก็ยกให้เขาคนนี้คืออาจารย์ของเขา

โดยตัวของ ศราวุธ แววงาม ได้ทำการพูดคุยและล้อมวงกินข้าวไปกับอาจารย์ของเขา พร้อมกับตกลงว่าในวันรุ่งขึ้น รวมถึงยังพูดถึงว่าจะต้องเอาเงินใส่พานเป็นค่าครูเท่าไหร่ และ ใช้เวลาสักทั้งหมดกี่วัน โดยทางอาจารย์ละดา ก็ได้บอกว่าจะสักให้วันละขา  และถ้าหากทนไม่ไหวแกจะไม่คืนเงินค่าครู ซึ่งการตกลงในครั้งนี้ของ ศราวุธ แววงาม นี่เองที่ทำให้เขาต้องตื่นนอนตั้งแต่เช้าตรู่ตั้งแต่ตี 5 ของวันรุ่งขึ้นเพื่อกินข้าว ก่อนที่จะเริ่มสักตั้งแต่ 6 โมงเช้า โดยสาเหตุที่ต้องเริ่มเช้ากันขนาดนี้ เพราะว่าหมู่บ้านที่อาจารย์ละดาอยู่นั้นยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ทำให้ถ้ามืดแล้วจะไม่สามารถสักต่อได้นั่นเอง

การสักขาลาย วัฒนธรรมเจ็บๆ บทพิสูจน์ความอดทน และอัตลักษณ์ของชาวล้านนา | THE  MOMENTUM การสักขาลาย วัฒนธรรมเจ็บๆ บทพิสูจน์ความอดทน  และอัตลักษณ์ของชาวล้านนา

โดยในทุกครั้งที่จะมีการสักขาลายนั้นจะมีพิธีที่เรียกว่า การขึ้นพาน ซึ่งประเพณีถือได้ว่าสิ่งที่ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ โดยภายในพรานนั้นจะประกอบไปด้วย ยาเส้น ลูกหมาก ใบพลู ข้าวที่หุงแล้วหรือขนม เกลือ พริก น้ำ หรือ เหล้าจอก โดยทั้งหมดที่อยู่ในพานไหว้ครุนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความน้อบน้อมต่ออาจารย์ที่จะสักขาลายให้ และแน่นอนว่าตัวของ ศราวุธ แววงาม ก็ทำพิธีขึ้นพานนนี้เช่นกัน 

ซึ่งในครั้งแรกนั้นตัวของ ศราวุธ แววงาม ตั้งใจที่จะให้อาจารย์ละดาสักให้ทีเดียวรวดไปเลย 2 ขา แต่ทว่าสุดท้ายแล้วตัวของเขาก็ทนได้เพียงแค่ขาเดียวเท่านั้น ทำให่เขาต้องกลับมาอีกครั้ง ซึ่งการกลับมาอีกครั้งของ ศราวุธ แววงาม นั้นมันเป็นแสดงถึงความมุ่งมุ่นของตัวเขา จึงทำให้อาจารย์ละดานั้นเรียกราคาในการสักไม่เท่าใด และในที่สุดการสักขาลายของ ศราวุธ แววงาม ก็เสร็จสิ้นลงในครั้งที่ 2 นั่นเอง แถมในครั้งนั้นเขายังได้รู้ถึงความตั้งใจของอาจารย์ละดาอีกด้วยว่า จริง ๆ แล้วท่านไม่อยากให้มีงานสักค้างอยู่ที่ขาของใครก่อนที่ท่านจะตาย ซึ่งมันเป็นการแสดงออกถึงการรับผิดชอบ และ ไม่เอารัดเอาเปรียบใครนั่นเอง

นอกจากนั้นแล้ว ศราวุธ แววงาม ยังเล่าให้ฟังถึงว่า สาเหตุที่ตัวอาจารย์

จะไม่คืนเงินให้กับผู้สักที่ยังสักไม่เสร็จนั่นก็เพราะว่าในสมัยก่อนนั้น การสักขาลาย นั้นเปรียบเสมือนการพิสูจน์ความอดทนที่ทำมากันตั้งแต่โบราณ ซึ่งถ้าเราตกลงกับอาจราย์ในแบบไหนเราก็ทำให้ตามข้อตกลง

ส่วนถ้ามีใครถาม ศราวุธ แววงาม ว่าการสักขาลายเจ็บแค่ไหนเขาก็จะต้องตอบได้เลยว่ามันเจ็บมาก เพราะการสักขาลายนั้นเป็นการสักด้วยมือ แถมมันยังกินเวลานาน เพราะว่ามันต้องเวลาเพียงแค่เดียวนานถึง 12 ชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งถ้าเทียบกับการใช้เครื่องมือสักปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่จะกินเวลาเพียงแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น และเพราะระยะเวลาที่กว่าการใช้เครื่องมือถึง 1 เท่าตัว มันจึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างเกินขีดจำกัดของร่างกายอยู่มาพอดูเลยทีเดียว ซึ่งเพราะความยาวนานนี้เองจึงทำให้ส่วนใหญ่คนโบราณส่วนใหญ่มักจะนิยมสูบฝิ่นไปด้วยระหว่างการสักเพื่อเป็นการบรรเทาความเจ็บปวดนั่นเอง

แต่ถึงมันจะเจ็บปวดขนาดไหนก็ตามตัวของ ศราวุธ แววงาม เองก็รู้สึกดีใจในทุก ๆ

ครั้งที่ได้เห็นเข็มนั้นสลักลงไปผิวหนังของเขาจนเกิดลวดลายต่าง ๆ ขึ้น แถมเขายังเลื่อมใสในตัวของอาจารย์ละดามากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน แถมในช่วงเวลานั้นตัวของ 

ศราวุธ แววงาม เองก็ยังคงตั้งหน้าตั้งตาเรียนรู้วิธีการต่าง ๆ จากอาจารย์ละดา และการศึกษาครั้งนั้นนี่เองที่ทำให้ตัวของเขาได้กลับไปนั่งศึกษาการทำเข็มสำหรับการสักขาลาย

โดยอุปกรณ์สำหรับการสักขาลายนั้น เรื่องเข็มนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ โดยเข็มที่ตัวอาจารย์ละดาของ ศราวุธ แววงาม ใช้สักนั้นมีอายุมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ซึ่งเรื่องเข็มสักนี้เองก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ช่างสักขาลายหลาย ๆ คนไม่ได้ทำการสักต่อเนื่องจากพวกเขาไม่สามารถหาเข็มสักได้ อีกทั้งความนิยมในการสักขาลายก็ค่อย ๆ ลดลง แถมเข็มที่ใช้ช่างสักขาลายหลาย ๆ คนเก็บเอาไว้ถูกขายต่อไปในฐานะของใช้สำหรับนักสะสม ซึ่งมันได้ราคาแพงมากกว่าการนำมาใช้สักนั่นเอง

ซึ่งตัวของ ศราวุธ แววงาม ที่ได้เดินทางมาสักขาลายกับอาจารย์ละดาก็ได้พบว่าเข็มสักของอาจารย์ละดาเองก็เริ่มที่จะเก่าจนจะใช้สักไม่ได้อยู่แล้ว มันจึงทำให้ตัวของ ศราวุธ แววงาม เริ่มคิดขึ้นมาว่าหากเขาไม่ทำอะไรกับเรื่องนี้ การสักขาลายอาจะค่อย ๆ เลือนหายไป  และความคิดเหล่านั้นนี่เองที่ทำให้ตัวของ ศราวุธ แววงาม ตัดสินใจที่จะเอาเรื่องราวของการทำเครื่องสักในสมัยใหม่เข้ามาพัฒนาการสักขาลายให้มีความปลอดภัย และ มีมาตราฐานยิ่งขึ้นไป 

หลังจากนั้นช่างอ๊อด หรือ ศราวุธ แววงาม ก็กลับมาบ้านและลงมือประดิษฐ์

เข็มสักขาลายในรูปแบบของตัวเองด้วยการลองผิดลองถูก ด้วยการนำเข็มแบบต่าง ๆ ที่ได้ลองสร้างขึ้นมาไปอาจารย์ละดาทดลองสักโดยใช้ผิวหน้าของตัวเองเป็นเครื่องทดลอง และหลังจากที่ลองอยู่นานเกือบสิบครั้ง ในที่สุดตัวของ ศราวุธ แววงาม ก็สามารถสร้างเข็มที่สามารถสักขาลายได้สำเร็จ ซึ่งมันเหมือนเป็นการคงเอลักษณ์สมัยก่อนเอาไว้ และ มีการผสมสานมาตรฐานสมัยใหม่เข้าไปด้วยนั่นก็คือ การที่สามารถถอดเปลี่ยนหัวเข็มได้ จึงทำให้หมดปัญหากับการที่จะหาเข็มสัก

นอกจากนั้นแล้วตัวของ ศราวุธ แววงาม ยังได้แนะนำเรื่องความสะอาดของการสักให้กับอาจารย์ละดาเพิ่มด้วยการนำเอากระดาษทิชชู แอลกอฮอล์ รวมถึงหมึกสักแบบปัจจุบันเขาไปให้อาจารย์ละดาแทนการใช้หมึกที่ได้มาจากดีไก่ ดีปลา ส่วนเข็มที่

อาจารย์ละดาใช้แล้วตัวของ ศราวุธ แววงาม ก็จะเป็นคนขอให้อาจารย์แยกส่วนเอาไว้ แล้วเดี๋ยวเขาจะเป็นคนเอาเข็มเหล่านั้นไปทำลายที่โรงพยาบาลเอง 

แต่ถึงตัวของ ศราวุธ แววงาม จะพยายามที่จะรักษาและอนุรักษ์เรื่องราวของการสักขาลายเอาไว้ แต่ทว่าตัวอาจารย์ละดาเองก็ไม่ได้สอนวิธีการสักขาลายให้กับ ศราวุธ แววงาม แบบตรง ๆ โดยท่านเพียงแค่ให้ตัวของช่างอ๊อดนั้นศึกษาเอาจากการสักของแก ซึ่งตัวของ ศราวุธ แววงาม ก็ต้องคอยจดจำการเดินลายว่ามันจะขึ้นจากจุดไปไหนจุดไหน พร้อมกันนั้นยังมีการนำรูปถ่ายลายขาของตัวเองมาเทียบ และยังเอาไม้มาเหลาเพื่อเลียนแบบเข็มที่อาจารย์เคยใช้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้

ซึ่งแม้ว่าทุกวันนี้ตัวของ ศราวุธ แววงาม จะมีฝีมือในการสักขาลายอยู่ในขั้นสูงพอสมควรแล้ว แต่ถึงแบบนั้นตัวของช่างอ๊อดก็ยังคงถ่อมตัวอยู่เสมอว่าฝีมือของเขาตอนนี้ไม่สามารถเทียบได้กับอาจารย์ละดาเลยแม้แต่น้อย เพราะว่าน้ำหนักมือของอาจารย์ละดาในการสักด้วยมือแต่ละครั้งไม่ต่างอะไรกับการใช้เครื่องจักเลย มันพอดีเป๊ะและละเอียดอ่อนยิ่งกว่าเครื่องจักรอีกต่างหาก นอกจากนั้นอย่างลายที่แกต้องใช้เวลาสัก 1 วันเต็ม ตัวของอาจารย์ละดาสามารถที่จะสักขาได้ถึง 2 ข้างภายใน 1 วัน

และจนถึงทุกวันนี้ตัวของ ศราวุธ แววงาม เองก็ยังคงเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เดินหน้าและเคลื่อนไหวเพื่อการอนุรักษ์การสักขาลายอย่างต่อเนื่องมากจนถึงปัจจุบัน

ลายสัก HOT

บทความลายสักล่าสุด

หมวดหมู่ลายสัก

สารบัญ ลายสัก รอยสัก