สำหรับนสังคมไทยของเราในปัจจุบันนี้เราน่าจะพอเห็นกันแล้วว่า ในปัจจุบันศิลปะบนเรือนร่างอย่างเช่นการสัก หรือ การเจาะนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่ดูน่าเกลียด หรือต้องหลบ ๆ ซ่อนกันอีกต่อไปแล้ว เพราะในตอนนี้ทัศนคติหลาย ๆ คนต่อรอยสักนั้นได้เริ่มเปลี่ยนเนื่องจากมีการมองว่าศิลปะบนร่างกายอย่างรอยสักนั้นเป็นสิ่งสวยงาม โดยสิ่งที่สามารถพิสูจน์ถึงความเชื่อนี้ได้ดีที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นบรรดาเหล่านางแบบ หรือ อินฟูเลนเซอร์หลาย ๆ คนที่กล้าโพสต์โชว์รอยสัก หรือ การเจาะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลงบนโลกโซเชี่ยลให้บรรดาเหล่าคนที่ติดตามเธอได้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ นั่นเอง แถมในปัจจุบันบางคนเองก็ยังไม่ได้มีเพียงแค่รอยสักใต้ร่มผ้าอย่างเดียวแล้วอีกด้วย
แต่ถ้าถามว่ายังมีคนอีกหลายคนอยู่ไหมที่ยังรู้มองว่าคนที่มีรอยสักนั้นเป็นคนไม่ดี เราก็ต้องตอบแบบตรง ๆ ว่าก็ยังมีอยู่เช่นกัน
ซึ่งในครั้งนี้เราจะขอมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับทางด้านจิตวิทยากันซะหน่อยว่า การสัก หรือ การเจาะส่วนใด ส่วหนึ่งของร่างกายนั้น ทำไมมันถึงไปมีผลกระทบต่อความเชื่อเกี่ยวกับ พฤติกรรมความรุนแรง หรือ คดีอาชญากรรมมากมายขนาดนั้น
โดยตามการวิเคราะห์ตามหลักจิตวิทยาแล้วยังมีหลาย ๆ คนที่มีความเชื่อว่าการที่คน ๆ นั้นมีรอยสักเท่ากับว่า คน ๆ นั้นเป็นคนที่กล้าทำร้ายตัวเองเนื่องจากในการสร้างรอยสักนั้นพวกเขาจะต้องโดนเข็มทิ่มลงไปบนเนื้อหนังของเขานั่นเอง
ซึ่งในเชิงจิตเวชที่มีการศึกษากันมานั้นถือว่าความคิดของคนที่มองว่าคนมีรอยสักเป็นแบบนั้นไม่ผิด เพราะว่าการสัก และ
การเจาะนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการทำร้านตัวเองในเชิงจิตเวชเช่นกัน แต่ทว่ามันจะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่การทำร้ายตัวเองที่ไม่ได้อันตรายจนเกินไป และก็ยังไม่ได้นับว่าเป็นการทำร้ายตัวเองโดยตรง ซึ่งการใช้รอยสักในลักษณะนี้ทางจิตวิทยาจะมองว่าเป็นการการะทำเพื่อทำการลงโทษตัวเองจากความรู้สึกผิดต่าง ๆ หรือ บางทีก็ในฐานะที่เป็นตัวแทนในการบำบัดการกระทำรุนแรงไปโดยไม่รู้ตัว นอกจากนั้นแล้วทางจิตวิทยายังมองว่าการสัก หรือ การเจาะนั้นยังเป็นแสดงถึงความคิดด้านลบต่อตัวเอง และ ร่างกายของตัวเอง จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมหลาย ๆ คนถึงมองว่าคนที่มีรอยสักมีการเคารพในตัวเองที่ต่ำกว่าคนทั่วไปนั่นเอง
โดยผลวิจัยหลาย ๆ ชิ้นยังสามารถซัพพอร์ตความเชื่อนั่นก็คือ ส่วนใหญ่แล้วคนที่มีรอยสัก นั้นมักจะหวังผลให้มุมมองทางศิลปะของรอยสัก หรือ การเจาะนั้น เป็นเหมือนเครื่องประโลมจิตใจ และ ช่วยในการก้าวผ่านการังเกียจรูปร่าง และ ร่างกายของตัเอง รวมถึงควงามมั่นใจต่าง ๆ แถมในซีกโลกตะวันตกยังมีกลุ่มวับรุ่นอีกหลายคนที่รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้นหลักจากที่พวกเขามีรอยสัก แต่นั่นก็เพียงแค่การวิเคราะห์เพียงแค่ 3 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งหลังจากนั้นเองมันก็ขึ้นอยู่กับสภาพวาดแล้มของแต่ละคน ซึ่งบางคนก็อาจมั่นใจเหมือนเดิม แต่ทว่าบางคนก็อาจจะรู้สึกไม่มั่นใจ และ เริ่มคิดไปต่าง ๆ นานาว่าเขาทำอะไรกับร่างกายของตัวเองลงไป
อีกหนึ่งจิตวิทยาที่ถูกนำมาวิเคราะห์กับรอยสักนั่นก็คือ เรื่องราวของ PTSD หรือ โรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย ซึ่งจากการศึกษาเราจะพบว่ามีทหารผ่านศึกหลาย ๆ นาย
ที่มีอาการ PTSD และพวกเขาเหล่านั้นก็ใช้ทั้งการสัก และ การเจาะ เพื่อที่จะบำบัดตัวเองจากประสบการณ์
อันเลวร้ายนที่เขาเห็นในสนามรบ โดยส่วนใหญ่พวกเขามักจะเลือกมีรอยสัก หรือ เจาะเพื่อที่จะให้มันกลายเป็นสิ่งเตือนใจตัวเองอยู่เสมอ ๆ ว่า อะไรที่สามารถทำให้พวกเขาผ่านมันไม่ได้ เช่นการสักชื่อเพื่อนร่วมสนามรบที่เสียชีวิต
แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมดที่เหล่าทหารจะเลือกมีรอยสักเพราะว่าในทหารอีกหลาย ๆ รู้สึกว่าการสักนั้นมันเปรียบเสมือนการกระตุ้นความเจ็บปวด และ ความตื่นเต้น ให้ร่างกายได้หลั่งสารเอ็นโดรฟิน เพื่อให้ร่างกายได้สู้กับความเจ็บปวด ซึ่งถ้าจะให้เปรียบเทียบมันก็เหมือนกับฉีดมอร์ฟีนเข้าไปในร่างกายนั่นเอง ซึ่งการสร้างรอยสักบนร่างกายของทหารเหล่านี้มันก็กับเป็นการทำให้พวกเขารู้สึกดีหลังจากที่หายความเจ็บปวดนั่นเอง ซึ่งไอ้การเสพติดทางจิตใจนี้เองที่ มันได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่ามันแตกต่างจากการทำร้ายตัวเองโดยตรง เพราะการทำร้ายตัวเองแบบนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการทำเพราะอยากทำในช่วงเวลานั้น ๆ นั่นเอง
นอกจากเหล่าทหารแล้วจิตวิทยาเกี่ยวกับรอยสัก และ เพศ หญิงก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกันอีกด้วย โดยทางการวิจัยได้พบว่าจริง ๆ แล้วยังมีผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่ใช้รอยสัก หรือ การเจาะ เพื่อใช้ไปในเชิงการลบล้างความรู้สึกรังเกียจต่อตัวเอง รวมถึงยังใช่บำบัดความรู้สึกที่ร่างกายของตัวเองมีมลทินจากการถูกข่มขืน หรือ ล่วงละเมิดทางเพศต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งจิตวิทยาได้วิเคราะห์ถึงเรื่องราวของการที่พวกเธอตัดสินใจมีรอยสัก นั่นก็เพราะว่าพวกเธอจะได้รู้สึกดีขึ้นที่ได้เลือกเพิ่มเติมบางสิ่งบางอย่าง ผ่านการตัดสินใจของตัวเอง แถมรอยสักพวกนี้มันยังเป็นย้ำว่าร่างกายของพวกเธอไม่ได้ถูดตรึงเอาไว้โดยคนที่มาล่วงละเมิดทางเพศพวกเธออีกด้วยแต่ ซึ่งแม้ว่าความทรงจำเหล่านั้นจะไม่ได้หายไปแบบปลิดทิ้ง แต่อย่างน้อยรอยสักพวกนั้นมันก็ช่วยให้พวกเธอเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของตัวเอง และ ใช้รอยสักเหล่านั้นก้าวข้ามผ่าน
แต่อย่างที่เรากล่าวไปในตอนต้นว่า แม่ว่ารอยสักกับอาการที่เรียกว่า PSTD นั้นจะดูเหมือนว่ามีผลไปในเชิงผลบวกที่สามารถทำให้หลาย ๆ คนรู้สึก้าวผ่านสิ่งร้าย ๆ ที่ฝังอยู่ในจิตใจของตัวเองได้ แต่ทว่ามันก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นตัดสินใจผิดไป เพราะในช่วงเวลาระหว่างสักนั้นความทรงจำร้าย ๆ บางครั้งก็กลับมาเนื่องจากมันเป็นการทำให้ร่างกายของตัวเองมีบาดแผล หรือ ไม่ก็เพราะความเจ็บปวดในช่วงเวลาสักที่ทำให้พวกเขาหวนไปรำลึกถึงเหตุการณ์นั้น ๆ
แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาอะไรก็ตาม อย่างน้อยเราก็ยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คนที่ตีตราว่าคนที่มีรอยสักมักจะเป็ยพวกหัวรุนแรง และ เป็นรอยด่างพร้อยบนร่างกายจะหมดไป เพราะทางเชิงจิตวิทยาที่เราหยิบบทวิเคราะห์มาให้หลาย ๆ คนดูนั้น
คุณจะเห็นได้เลยว่านอกจากจุดประสงค์การสักเพื่อความสวยงามแล้ว มันยังกลายเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยข้ามผ่านช่วงเวลา
อันเลวร้ายของใครหลาย ๆ คน รวมถึงมันยังเป็นการช่วยส่งเสริมความมั่นใจ และ สร้างตัวตนใหม่ รวมถึงการบำบัดจิตใจอีกด้ว
ส่วนสำหรับใครคนไหนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ และ กำลังเริ่มลังเวลว่าจะสักดีไหม เพราะว่าทั้งกลัวเข็ม และกลัวจะเบื่อ หรือ
ไม่ชอบรอยสักตัวเองในวันใดวันหนึ่งเหมือนอย่างที่เรายกตัวอย่างไว้ข้างต้นแล้วละก็ เราขอแนะนำว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะต้องรีบตัดสินใจเลยแม้แต่น้อย เพราะแม้ว่าการมีรอยสักจะสะท้อนถึงตัวตนของเราก็ตามที แต่ทว่าในปัจจุบันนี้มีวิถีการที่จะสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของเราก็ยังมีหลากหลายอย่าง และคุณต้องถามตัวเองให้ดีด้วยว่าที่คุณต้องการจะมีรอยสักนั้นมันมาจากความตั้งใจของคุณเอง หรือแรงกดดันจากสภาพแวดล้อม หรือ เพื่อน ๆ ของคุณเองกันแน่
ส่วนสำหรับใครคนไหนที่มีรอยสักและมันตรงกับจิตวิทยาที่เราเอามาให้คุณอ่านนั้น เราก็อยากบอกคุณว่าคุณไม่จำเป็นที่จะต้องเสียใจ ขอเพียงแค่คุณตั้งใจ และ เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน และยอมรับตัวตนในอดีต เพราะมันคืออีกหนึ่งประสบการณ์ที่มันจะช่วยให้คุณใช้ชีวิตในวันข้างหน้าโดยมีบทเรียน